วันเสาร์ที่ 3 เมษายน พ.ศ. 2553

เทศกาล Easter



ความหมายของเทศกาลอีสเตอร์
อีสเตอร์ คือ เทศกาลของคริสเตียนที่ระลึกถึงการเป็นขึ้นมาจากความตายของพระเยซูคริสต์

คำว่า “Easter” มาจากคำภาษาอังกฤษและเยอรมันเก่าแก่ว่า “Eastre” ซึ่งตรงกับภาษากรีกว่า “Paschal” หรือ “Passover” หรือ เทศกาลปัสกา นั่นเอง
เทศกาลปัสกาคือเทศกาลที่ชาวยิวระลึกถึงการที่พระเจ้าทรงนำพวกเขาออกมาจากการ เป็นทาสในอียิปต์
นักวิชาการบาง ท่านได้ให้ข้อคิดว่า การฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซู เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับฤดูใบไม้ผลิตอย่างน้อย 2 ประการ


ประการ แรก วันอีสเตอร์อยู่ในช่วงเกี่ยวกับฤดูใบไม้ผลิต คือระหว่างเดือนมีนา และเมษายน

ประการที่สอง ฤดูใบไม้ผลิตเป็นสัญญาลักษณ์ของชีวิตใหม่ เพราะระหว่างฤดูหนาวที่หิมะตก หรืออากาศหนาวเย็น ต้นไม้ส่วนใหญ่จะไม่มีใบ มีลักษณะเหมือนตายไปแล้ว แต่เมื่อฤดูใบไม้ผลิตมาถึง ต้นไม้ที่ดูเหมือนตายไปแล้วก็ผลิใบ จึงอาจเป็นสาเหตุที่ใช้คำว่า Easter สำหรับวันฟื้นคืนพระชนม์


ย้อนไปเมื่อตอนที่ฟาโรห์ปฏิเสธที่จะปล่อยชาวอิสราเอล พระเจ้าให้ทูตมรณะเข้าไปในครัวเรือนของอียิปต์และปลิดชีพบุตรหัวปีทั้งหมด ยกเว้นบ้านของชาวยิวที่นำโลหิตของแกะมาทาที่ประตูบ้าน ทูตมรณะจะผ่านเว้นไป จึงเรียกว่าการ Pass-over หรือ ภาษาฮีบรู เรียกว่า“Paschal” ภาษาไทยเรียกว่า “ปัสกา”


หลังจากนั้นอีกประมาณ 1500 ปีพระเยซูเสด็จมาประสูติในโลก คือเทศกาลคริสต์มาสและทำพันธกิจของพระองค์ในแผ่นดินโลกจนมาถึงช่วงเทศกาลปัสกา พระเยซูก็ถูกจับไปทรมาน และสิ้นพระชนม์บนกางเขน โลหิตของพระองค์จึงเปรียบเสมือนเลือดแกะที่ช่วยชีวิตคนให้รอด เหมือนคืนวันปัสกา หลังจากนั้นในเช้าวันที่สาม พระองค์ฟื้นขึ้นจากความตาย ซึ่งตรงกับวันอาทิตย์ ต่อมาใน คศ.ที่ 320 ทางศาสนจักรได้ประกาศให้วันอีสเตอร์ คือ วันอาทิตย์แรกหลังวันเพ็ญใกล้ฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งจะตรงกับวันอาทิตย์ใกล้วันปัสกา ซึ่งจะอยู่ช่วงระหว่างวันที่ 21 มีนาคม ถึง 25 เมษายนของทุกปี

คริสเตียนถือว่า วันที่พระเยซูคริสต์ทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย เป็นวันที่สำคัญที่สุด เป็นหัวใจของข่าวประเสริฐ เพราะถ้าไม่มีวันอีสเตอร์ วันคริสตมาสหรือวันศุกร์ประเสริฐ ก็ไม่มีความหมาย เพราะถ้าพระเยซูเสด็จมาเกิด และสิ้นพระชนม์โดยไม่ได้เป็นขึ้นมาใหม่ พระองค์ก็จะเป็นพระเจ้าที่ตายแล้ว ไม่สามารถช่วยเราได้ แต่เมื่อพระองค์ได้ชัยชนะเหนือความตาย บรรดาผู้เชื่อจึงมีความหวังที่แน่นอน ที่จะเป็นขึ้นจากความตาย มีชีวิตนิรันดร์ในสวรรค์สถานกับพระเจ้า ได้มีความมั่นใจในชีวิตนิรันดร์หลังความตาย




“สัญลักษณ์น่าสนใจที่เกี่ยวกับวันอีสเตอร์”

1. ดอกไม้ : ดอกไม้ที่เป็นสัญลักษณ์ของวันอีสเตอร์ คือ ดอกลิลลี่ หรือดอกพลับพลึงสีขาวบริสุทธิ์ ที่เบ่งบานยามรุ่งอรุณ มีกลิ่นหอมบริสุทธิ์เมื่อแรกแย้ม

2. สวนดอกไม้ : ซึ่งสื่อความหมายถึง ความสุขสมหวัง สดใสชื่นบาน สวยงาม

3. ผีเสื้อ : สื่อความหมายถึงชีวิตใหม่ เหมือนตัวดักแด้ที่ออกมาจากเปลือกหุ้ม และโบยบินขึ้นสู่ท้องฟ้าอย่างอิสรเสรี คล้ายกับองค์พระเยซูคริสต์ที่สิ้นพระชนม์ และถูกเก็บไว้ในอุโมงค์ หลังจากนั้น 3 วัน จึงฟื้นคืนพระชนม์

4. ไข่ ( Easter egg) หมายถึง ชีวิตใหม่

การหาไข่อีสเตอร์ กลาย เป็นธรรมเนียมประเพณีที่สนุกสนาน เคียงคู่ไปกับการเฉลิมฉลองวันอีสเตอร์ จนยากที่จะตัดทิ้ง ทั้งๆที่ไข่ ไม่ได้มีส่วนเกี่ยวข้องอะไรกับอีสเตอร์เลย

เริ่มแรกเมื่อมีการใช้ไข่ในยุโรปสมัยโบราณ หมายถึง “ชีวิตใหม่” หรือ “ความอุดมสมบูรณ์ที่กลับมาอีกครั้งหนึ่งในฤดูใบไม้ผลิ” ชาวยุโรปเคยใช้ไข่กลิ้งไปตามท้องทุ่ง แล้วบนบานให้ทุ่งนาของตนมีผลิตผลบริบูรณ์ ต่อมาเมื่อผู้เชื่อในพระเยซูคริสต์ได้ขยายเผยแผ่เข้าไปในยุโรป และในหลายๆประเทศยอมรับเชื่อเป็นสาวกของพระเยซู เมื่อถึงเทศกาลปัสกา หรือ อีสเตอร์ ซึ่งตรงกับฤดูใบไม้ผลิพอดี เลยเอาไข่ที่เคยใช้แต่ก่อนแล้วมาผสมผสานด้วย

ส่วนในปัจจุบันนี้ มีการทำช็อกโกแลตเป็นรูปไข่ลวดลายต่างๆ หรือ ทำไข่พลาสติกที่บรรจุขนมหวานไว้ข้างใน และมีการเอาไข่ต้มมาทาสี หรือ ไข่พลาสติกสีสันต่าง ๆ ไปซ่อนให้เด็กค้นหา โดยมีความหมายแฝงเร้นอยู่ว่าอีสเตอร์ คือ วันที่พระคริสต์ทรงเป็นขึ้นมาจากความตาย และเสด็จออกจากอุโมงค์ฝังศพที่มีก้อนศิลามหึมาปิดอยู่นั้นถูกเปิดออก เหมือนดังที่ลูกไก่ได้เจาะเปลือกไข่ออกมาเป็นตัวนั่นเอง

5. กระต่ายอีสเตอร์ (Easter Bunny) เช่นเดียวกับ “ไข่” คือเป็นสัญลักษณ์ของ “ชีวิตใหม่” ธรรมชาติของกระต่ายจะออกลูกดกในช่วงฤดูใบไม้ผลิ ความหมายของกระต่ายจึงหมายถึงชีวิตใหม่มากกว่าการเน้น “การเป็นขึ้นจากความตาย”


ส่วนตำนานที่สมัยใหม่หน่อย เกี่ยวกับกระต่ายมีดังนี้
ผู้หญิงคนหนึ่ง ซ่อนไข่อีสเตอร์ไว้สำหรับลูก ๆ ในช่วงกันดารอาหาร ในขณะที่เด็ก ๆ พบไข่นั้น มีกระต่ายตัวใหญ่กระโดดหนีออกไป พวกเขาก็เลยคิดว่า กระต่ายเป็นผู้นำเอาไข่มาให้ กระต่ายจึงมาเกี่ยวข้องกับไข่โดยปริยาย

6. ฤดูใบไม้ผลิ หมายถึง สัญลักษณ์ของการบังเกิดใหม่ ฤดูใบไม้ผลิ ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของชีวิตใหม่ ที่ได้ผ่านพ้นฤดูหนาวที่มีหิมะตกหนาวเย็นนั้น ต้นไม้ทิ้งใบเสมือนตายไปแล้ว พอถึงฤดูใบไม้ผลิก็ผลิใบใหม่และต้นได้ฟื้นขึ้นมาใหม่หรือเปรียบเสมือนการ เกิดใหม่นั่นเอง

7. กางเขน และ อุโมงค์ที่ว่างเปล่า เป็นสัญลักษณ์ของการฟื้นขึ้นมาจากความตาย
“ความหมายที่แท้จริงของอีสเตอร์ สำหรับคริสเตียน จึงหมายถึง”
• การที่ทำให้เรามีประสบการณ์ในการฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซูคริสต์มากขึ้น
• ทำให้เราตระหนักถึงฤทธิ์อำนาจอันมิได้จำกัดของพระองค์มากขึ้น
• ทำให้คริสเตียนดำเนินชีวิตด้วยความเชื่อมากขึ้น
• เรียนรู้ที่จะมีชีวิตที่บริบูรณ์ไปด้วยความรักต่อคนในครอบครัวและเพื่อนร่วม โลกมากขึ้น ดังที่พระเยซูทรงเป็นแบบอย่างแก่เราบนกางเขนนั้นแล้ว
• และทำให้คริสเตียนดำเนินชีวิตที่เหลืออยู่ ไม่ใช่ด้วยความสิ้นหวัง แต่ด้วยความหวังใจอยู่เสมอ ในวันต่อวันบนโลกชั่วคราวใบนี้ เพราะเมื่อถึงวันนั้น วันที่พระเยซูได้ทรงสัญญากับผู้เชื่อทุกคนว่า พระองค์จะเสด็จกลับมารับเราไปอยู่กับพระองค์ และที่นั่นจะไม่มีน้ำตาอีกต่อไป.. และนี่คือ ข่าวดี และความหวัง สำหรับมวลมนุษยชาติจริงๆ




คำ อวยพรในการ์ดสำหรับเทศกาลอีสเตอร์ สำหรับคริสตชน จะอวยพรกันในประโยคที่ว่า "ขอ ให้พระพรแห่งการฟื้นคืนพระชนม์เป็นของคุณ"

ของที่ระลึกสำหรับ เทศกาลนี้ นิยมมอบช็อกโคเล็ดรูปไข่ หรือ ตุ๊กตาช็อคโกเล็ครูปกระต่าย ,ไข่ต้มย้อมสี หรือวัสดุรูปไข่ที่ประดิษฐ์ด้วยงานศิลป์

สำหรับในปี 2005 นี้เทศกาลอีสเตอร์ตรงกับวันที่ 25-26-27 มีนาคม คริสตจักรต่าง ๆ จะเริ่มต้นเทศกาลนี้ด้วยการนมัสการพระเจ้าในค่ำคืนวันที่ 25 มีนาคม เพื่อระลึกถึงวันที่พระเยซูคริสต์ทรงสละชีวิตของพระองค์บนไม้กางเขนเพื่อ ความผิดบาปของเรา ซึ่งเราเรียกวันนี้ว่า วันศุกร์ประเสริฐ หรือ Good Friday

ส่วนที่วันที่ 27 มีนาคม บางคริสตจักรมีการเฉลิมฉลองวันอีสเตอร์หรือวันฟื้นคืนพระชนม์ของพระเยซู คริสต์ ด้วยการนมัสการพระเจ้าตั้งแต่เวลา 06.00 น. บางคริสตจักรก็จัดเฉลิมฉลองวันอีสเตอร์ในช่วงเวลานมัสการปกติ

ประเพณี ซ่อนไข่ จัดขึ้นเพื่อความสนุกสนาน โดยนำไข่ที่จัดเตรียมไว้ซึ่งมักจะเป็นไข่ต้มที่ย้อมสีต่างๆ อย่างสวยงาม อาจจะวาดเป็นลวดลาย หรือประดิษฐ์เป็นงานศิลปแบบต่าง ๆ นำไปซ่อนไว้ตามบริเวณต่างๆ ของคริสตจักร และให้สมาชิกของคริสตจักรหาไข่เหล่านั้น บางคริสตจักรอาจจะมีรางวัลสำหรับผู้ที่หาไข่ได้มากอีกด้วย




Credits :

http://www.saranair.com/
http://behindthepraise.com/

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น